ขอขอบคุณผู้สนับสนุน
- Overture –
โหมโรง Synthesizer
ออกแบบดนตรี/แสดง: ทักษ์ดะณัย อณาชัย, อานันท์ คนคม
- องก์ที่ 1 –
1. ระบำนาฏเทวฤทธิ์
ออกแบบท่ารำ: มานิต เทพปฏิมาพร
ประพันธ์ดนตรี: กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ
ออกแบบเสียง: ธนะรัชต์ อนุกูล
2. ระบำศรีพโล
ออกแบบท่ารำ: นพพล จำเริญทอง
ประพันธ์ดนตรี: กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ
ออกแบบเสียง: ธนะรัชต์ อนุกูล
3. การขับร้องประสานเสียง
คณะนักร้องประสานเสียงมหาวิทยาลัยบูรพา
1. บัวขาว
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
ทำนอง: หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ (อภัยวงศ์)
เรียบเรียงเสียงประสาน: วิภา โครตสมบัติ
2. หมดหัวใจ (หญิงล้วน)
คำร้อง: สุภาวรรณ พวงงาม
ทำนอง: อรรถพล ประเสริฐยิ่ง
เรียบเรียงเสียงประสาน: โสภณัฐ เหมหงส์
3. คิดถึง (ชายล้วน)
คำร้อง: เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี/
ทำนอง: Gypsy Moon
เรียบเรียงเสียงประสาน: โสภณัฐ เหมหงษ์
4. Harmony
คำร้อง/ทำนอง: NORMAN SIMON and ARTIE KAPLAN
เรียบเรียงเสียงประสาน: NORMAN LEYDEN
5. หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ
คำร้อง/ทำนอง: สรเพชร ภิญโญ
เรียบเรียงเสียงประสาน: ธนะรัชต์ อนุกูล, โสภณัฐ เหมหงษ์
อำนวยเพลง: ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ
ควบคุมการฝึกซ้อมโดย: ศานติ เดชคำรณ, ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ
ผู้จัดการและการประสานงาน: ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ
ออกแบบท่าเต้น: ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์
บรรเลงเปียโน: ณัชชา พฤกษชลธาร
3. การบรรเลงวงดุริยางค์เครื่องลม
มหาวิทยาลัยบูรพา
1. Romanesque - James Swearingen
2. Jupiter
ประพันธ์เพลง: Gustav Holst
เรียบเรียง: Hideaki Miura
3. You Raise Me Up
ประพันธ์ทำนอง: Rolf Lovland
เนื้อร้อง: Brendan Graham
ขับร้อง: ทรงวรธรรม สมกอง
4. รักแท้เหนือกาลเวลา
คำร้อง: ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์
ทำนอง: จักรกฤษณ์ มัฆนาโส
เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ขับร้อง: ณัฐดนัย พันทองหล่อ
5. ชงโค
ประพันธ์และเรียบเรียง: วาณิช โปตะวนิช
เรียบเรียงสำหรับวง BUU Wind Symphony: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
6. พม่ารำขวาน
เรียบเรียง: วาณิช โปตะวนิช
เรียบเรียงสำหรับวง BUU Wind Symphony: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
7. Higher Ground
เนื้อร้องและทำนอง: Stevie Wonder
เรียบเรียง: Dave Wreckl
เรียบเรียงสำหรับวง BUU Bigband: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ขับร้อง: ราชมณ รัตนเวคิน
8. One moment in time
ประพันธ์เพลง: Albert Hammond & John Bettis
เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ขับร้อง: ชยาภัสร์ สมบูรณ์
9. Nessun Dorma (From Turandot)
ประพันธ์เพลง: Giacomo Puccini
เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ขับร้อง: ทรงวรธรรม สมกอง
10. The Show must go on
ประพันธ์เพลง: Brian May (Queen)
เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ขับร้อง: ณัฐดนัย พันทองหล่อ
- พักการแสดง 15 นาที –
- องก์ที่ 2 –
1. ละครเพลงเรื่อง ตำนานรักแสนมุก
ประพันธ์บทโดย: ปาลิตา ปัญญาปฏิมา, สวรรญา คณิศมงคลเชษฐ์,
ผไทมาศ เถาหล้า, กนกพร ชลมารค และ พรนัชชา พิรกิตติวรกุล
(1.) เพลงข่าวลือ
เนื้อร้อง: ปาลิตา ปัญญาปฏิมาและทีม
ทำนอง: พลาธิป ตันประเสริฐ
เรียบเรียง: ณัชชา พฤกษชลธาร
(2.) เพลงสาบานรัก
เนื้อร้อง: ดุษฎี ตุ้มชัยพร
ทำนอง: ดุษฎี ตุ้มชัยพร
เรียบเรียง: ณัชชา พฤกษชลธาร
2. ละครเพลงเรื่อง Together บาร์รักสีรุ้ง
ประพันธ์บทโดย: อานนท์ จุติกิติ์เดชา
(1.) เพลงบาร์ของเรา
เนื้อร้อง: อานนท์ จุติกิติ์เดชา
ทำนอง: กฤษณะ เกศวพิทักษ์
เรียบเรียง: ณัชชา พฤกษชลธาร
(2.) เพลง Together
เนื้อร้อง: อานนท์ จุติกิติ์เดชา
ทำนอง/เรียบเรียง: ณัชชา พฤกษชลธาร
(3.) เพลง I am what I am
ประพันธ์เพลง: Jerry Herman
เรียบเรียง: ณัชชา พฤกษชลธาร
3. ละครเพลงเรื่อง เจ้าแม่โคกพนมดี
ประพันธ์บทโดย: จิรวัฒน์ ชาญเชี่ยว
(1.) เพลงนางพญาโคกพนมดี
เนื้อร้อง: จิรวัฒน์ ชาญเชี่ยว
ทำนอง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
(2.) เพลงลมหายใจของวันวาน
เนื้อร้อง: จิรวัฒน์ ชาญเชี่ยว
ทำนอง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
(3.) เพลงอดีตที่ทิ้งไว้
เนื้อร้อง: ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์
ทำนอง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ปรับบท/กำกับการแสดง: ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์
กำกับดนตรี: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ผู้ช่วยกำกับดนตรี: ณัชชา พฤกษชลธาร
ผู้ช่วยกำกับการแสดง: อานนท์ พรามฉิม,
ณัชพล สังช์ช่วย
ออกแบบท่าเต้น: วิสาขา แซ่อุ้ย
ออกแบบเสื้อผ้า: โสพล ชิณราด
- Finale –
เพลงก้าวไกล
เนื้อร้อง: ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์
ทำนอง/เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
โหมโรง Synthesizer
ออกแบบดนตรี/แสดง: ทักษ์ดะณัย อณาชัย / อานันท์ คนคม
__________
การนำเสนออุปกรณ์สร้างเสียงสังเคราะห์ในยุคเริ่มต้น ร่วมกับอุปกรณ์เสียงสังเคราะห์ในปัจจุบัน เป็นการผสมผสานเสียงสังเคราะห์ของสองยุคสมัยที่ร้อยเรียงความถี่จากแนวคิดการนำสัญญาณไฟฟ้ามาพัฒนาให้เกิดเสียงจนกระทั่งเป็นตัวโน้ตที่ไม่ได้กำเนิดจากเครื่องดนตรีโดยธรรมชาติด้วยความถี่ที่สามารถสร้างได้ตั้งแต่สูงสุดจนกระทั่งความถี่ต่ำสุดที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินแต่สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกได้จึงกลายมาเป็นการแสดง The Begin to Nuvo ในการแสดง โหมโรง Synthesizer
ออกแบบท่ารำ: มานิต เทพปฏิมาพร
ประพันธ์ดนตรี: กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ
ออกแบบเสียง: ธนะรัชต์ อนุกูล
__________
ระบำนาฏเทวฤทธิ์เป็นการสร้างสรรค์ท่ารำจากแหล่งโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 จากอักษรปัลลวะบนหลักศิลาจารึกโบราณ ถือว่าเป็นการจารึกที่เก่าแก่ที่สุดของไทยและมีการค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ ทับหลังศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ทับหลังศิลปะแบบไพรกเมง ประติมากรรมรูปบุคคล สังข์ดินเผา ตุ๊กตาดินเผาสมัยเกาะแกร์ ฐานศิวลึงค์แบบตรีมูรติและเครื่องสำริด เชื่อว่าเป็นศาสนสถานในการบูชาของศาสนาฮินดูที่กล่าวถึงการสรรเสริญพระวิษณุ ผู้สร้างสรรค์ได้แรงบันดาลใจการออกแบบท่าทางตามจินตภาพรูปบุคคลอยู่เหนือตัวมกรปรากฏบนทับหลังของปราสาทเขาน้อยที่แสดงท่าทางการร่ายรำการบูชาต่อองค์มหาเทพ มีออกแบบท่าทางจากลายเส้น โครงสร้างของโบราณวัตถุที่ค้นพบ เป็นการสร้างสรรค์กระบวนท่ารำขึ้นใหม่ที่ว่าด้วยการถอดลายจากภาพนูนต่ำ รูปบุคคล ลวดลายที่ปรากฏบนทับหลังและโบราณวัตถุผ่านการวิเคราะห์ตีความและจินตภาพ
ระบำนาฏเทวฤทธิ์
ออกแบบท่ารำ: นพพล จำเริญทอง
ประพันธ์ดนตรี: กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ
ออกแบบเสียง: ธนะรัชต์ อนุกูล
__________
ระบำศรีพโลเป็นผลงานสร้างสรรค์จากการวิจัยทางประวัติศาสตร์เมืองศรีพโล เพื่อออกแบบท่ารำในรูปแบบระบำประวัติศาสตร์ เมืองศรีพโลเดิมคือเมืองบางทรายในอดีตเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ ติดชายฝั่งทะเล มีประวัติทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยทวารวดีจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาตอนปลายก่อนที่จะเสื่อมหายไปด้วยอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ (ดินตะกอนชายฝั่งตื้นเขิน ไม่สะดวกต่อการค้าขาย) เมื่อเมืองท่าเล็ก ๆ เจริญเติบโตจนเป็นเมืองใหญ่ การก่อร่างสร้างเมืองเริ่มมีอารยธรรมทวารวดีแผ่ขยายเข้ามาจากภาคตะวันตก แนวคันดินสูงรูปทรงสี่เหลี่ยมของเมืองตามคติการสร้างเมืองแบบทวารวดี รวมทั้งพระพุทธศาสนาที่แผ่ขยายเข้ามาก่อนที่จะผ่านไปยังเมืองอื่นในภูมิภาคเดียวกันที่มีขนาดที่ใหญ่โตกว่า คือเมืองพญาเร่ เมืองพระรถและเมืองศรีมโหสถ เมื่ออิทธิพลของขอม ละโว้แผ่ขยายมาถึง ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าตามคติพราหมณ์ จึงได้เข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้ ดังประติมากรรมพระพนัสบดี พระวิษณุสี่กรและพระคเณศ เมื่อการค้าขายเจริญรุ่งเรืองอาณาจักรใหญ่ทางเหนืออาณาจักรสุโขทัยมีการติดต่อค้าขายกับชาวเรือต่างชาติคือจีนและญวณทำให้มีสินค้ามากมายอยู่ในเมืองศรีพโล จวบจนกระทั่งเมื่อถึงยุคสมัยอยุธยาเป็นยุคสุดท้ายที่เข้ามามีอิทธิพลก่อนที่เมืองศรีพโลหมดความสำคัญของการเป็นเมืองท่าอีกต่อไป
ระบำศรีพโล
การขับร้องประสานเสียง
คณะนักร้องประสานเสียงมหาวิทยาลัยบูรพา
อำนวยเพลง: ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ
ควบคุมการฝึกซ้อมโดย: ศานติ เดชคำรณ, ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ
ผู้จัดการและการประสานงาน: ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ
ออกแบบท่าเต้น: ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์
บรรเลงเปียโน: ณัชชา พฤกษชลธาร
__________
วงขับร้องประสานเสียงคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
(BUU Chorus) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 โดยมีกิจกรรมพอสังเขป ได้แก่ (อ่านเพิ่มเติม)
การบรรเลงวงดุริยางค์เครื่องลม
มหาวิทยาลัยบูรพา
__________
วงดุริยางค์เครื่องลม แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งเป็นปีที่สองที่เปิดรับนิสิตวิชาเอกดนตรีสากลสาขาดุริยางคศาสตร์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสาขาวิชาดนตรีและการแสดง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘) ในการจัดตั้งวงครั้งแรกมีจำนวนสมาชิกประมาณ ๑๗ คน โดยอาจารย์รณชัย รัตนเศรษฐ เป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งวงมีอาจารย์ศานติ เดชคำรณ และ อาจารย์ปภัสพล สว่างสุข เป็นที่ปรึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นิสิตในเครื่องมือเอกประเภทเครื่องลม และเครื่องเพอร์คัสชั่น ได้มีวงไว้สำหรับฝึกซ้อมทักษะการบรรเลงรวมวง (Band Ensemble) จึงเน้นหนักในการบรรเลงแบบนั่งบรรเลงเป็นหลัก (Concert Band) เนื่องจากเริ่มมีนิสิตประเภทเครื่องเพิ่มมากขึ้น (นิสิตรุ่น ๑ มีเครื่องลมเพียง ๘ คน) และพอที่จะจัดตั้งวงให้บรรเลงได้ครบแนวเสียงโดยใช้สถานที่บริเวณดาดฟ้าชั้น ๕ ตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นสถานที่ในการฝึกซ้อมวง จนสามารถบรรเลงเพลงพิธีการ และเพลงประเภทไลท์มิวสิค อย่างง่ายๆ ได้ในช่วงแรก
(อ่านเพิ่มเติม)
ละครเพลงเรื่อง
ตำนานรักแสนมุก
ประพันธ์บทโดย: ปาลิตา ปัญญาปฏิมา, สวรรญา คณิศมงคลเชษฐ์,
ผไทมาศ เถาหล้า, กนกพร ชลมารค และ พรนัชชา พิรกิตติวรกุล
__________
ละครเพลงเรื่อง ตำนานรักแสนมุก เป็นผลงานสร้างสรรค์ของนิสิตคณะดนตรีและการแสดงภายใต้โครงการ MUPA Recital2018 ซึ่งเป็นผลงานการผลิตและการฝึกกระบวนการทำงานของนิสิตและนำเสนอผลงานต่อสาธารณชนโดยเปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561 จำนวน 2 รอบ
__________
ละครเพลงเรื่อง Together บาร์รักสีรุ้ง เปิดการแสดงครั้งแรกในเทศกาลศิลปะการละครนิพนธ์ บางแสนละครก่อนจบครั้งที่ 4 จำนวน 2 รอบ เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2556 ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา เขียนบทและกำกับการแสดงโดย อานนท์ จุติกิติ์เดชา ประพันธ์และกำกับดนตรีโดย กฤษณะ เกศวพิทักษ์ ออกแบบเสื้อผ้าและฉากโดย อนุพัฒน์ เพชรอำไพ และนำแสดงโดย ณัฏฐนันท์ สุทธิอัมพร
ละครเพลงเรื่อง
Together บาร์รักสีรุ้ง
ละครเพลงเรื่อง เจ้าแม่โคกพนมดี
ปรับบท/กำกับการแสดง: ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์
กำกับดนตรี: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
ผู้ช่วยกำกับดนตรี: ณัชชา พฤกษชลธาร
ผู้ช่วยกำกับการแสดง: อานนท์ พรามฉิม / ณัชพล สังช์ช่วย
ออกแบบท่าเต้น: วิสาขา แซ่อุ้ย
ออกแบบเสื้อผ้า: โสพล ชิณราด
__________
ละครเพลงเจ้าแม่โคกพนมดี เปิดการแสดงครั้งแรกในเทศกาลดนตรีและการแสดงนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 จำนวน 3 รอบ ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2561 ณ ห้องพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดีตะวันออก หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณดคีโคกพนมดีโดยสื่อสารในรูปแบบละครเพลงในพิพิธภัณฑ์ กำกับการแสดงโดย ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์ เขียนบทและช่วยกำกับโดย จิรวัฒน์ ชาญเชี่ยว ประพันธ์และกำกับดนตรีโดย ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
เพลง ก้าวไกล...ก้าวไป
เนื้อร้อง: ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์
ทำนอง/เรียบเรียง: ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน
__________